ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับ

welcome to my blog

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

assignment 2

assignment 2
system
การผลิตนํ้าตาลทรายจัดว่าเป็น system หรือไม่

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
กระบวน การในการผลิตน้ำตาลทรายดิบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) : ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่นอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่นการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification) : น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3. การต้ม (Evaporation) : น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์
น้ำตาล ทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้

1. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) : นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้งคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2. การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) : น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการ ปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5. การอบ (Drying) : ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย
 
 Input คืออะไร

1. ความลับของน้ำตาลน้ำตาลที่ใส่ขนมและอาหารอื่น ๆ เป็นอาหารสำคัญที่ให้พลังงาน ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของผลึกสีขาว หรือสีน้ำตาลแดงก็ตาม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ซูโครส ทางวิทยาศาสตร์มีน้ำตาลมากมาย เช่น กลูโคสและฟรักโทส มีในพืชและสัตว์และผลไม้ แล็กโทสมีในน้ำนมของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พืชสีเขียวสร้างน้ำตาลได้ด้วยแสงแดด อากาศ และน้ำ ด้วยวิธีที่เรียกว่า การสังเคราะห์ด้วยแสง กลูโคสเป็นน้ำตาลที่สำคัญที่สุด มีอยู่ในเลือดของสัตว์ และในน้ำเลี้ยงของพืช

น้ำตาลทุกชนิดมีสารประกอบเคมีจำพวกคาร์โบไฮเดรต ประกอบด้วยธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ถ้าเอากรดซัลฟิวริก หรือกรดกำมะถันชนิดเข็มข้น ใส่ลงในน้ำตาลทรายสีขาว กรดจะดูดน้ำออกไปจากน้ำตาลทรายเหลือแต่ถ่านสีดำ สารบางชนิดไม่ใช่คาร์โบไฮเดรตแต่มีรสหวานจัด เช่น แซ็กคาริน และแอสพาร์แทม มีรสหวานราว 300และ 200 เท่า ของน้ำตาลทรายตามลำดับ ใช้แทนน้ำตาลได้เฉพาะในเรื่องของความหวาน เรียกสารพวกนี้ว่า น้ำตาลเทียม

ทุกวันนี้แอสพาร์แทม เป็นที่นิยมมากกว่า แซ็กคาริน เพราะยังไม่พบว่ามีอันตรายต่อคน มีของดื่มหลายอย่างที่ใส่อแสพาร์แทม เช่น น้ำอัดลมบางชนิด น้ำผลไม้ผง ลูกกวาด

2. ประเภทของน้ำตาลน้ำตาลคือ สารที่ช่วยเพิ่มรสชาติอาหารทั้งหวานและคาว นอกจากนี้ยังช่วยให้สีสันของอาหารน่ารับประทานอีกด้วย

1. น้ำตาลโตนด คือ น้ำตาลจากต้นตาล ที่เรียกว่าน้ำตาลเมืองเพชร โดยทำเป็นก้อนกลมสีน้ำตาลเข้ม มีรสหวานแหลมและเค็มเล็กน้อย เรียกว่า น้ำตาลปึก น้ำตาลประเภทนี้เหมาะที่จะใช้ใส่ส้มตำ ยำต่างๆ ทำน้ำกะทิลอดช่อง แกงบวด เป็นต้น

2. น้ำตาลมะพร้าว คือน้ำตาลจากมะพร้าว ใส่ปีบหรือทำเป็นปึก มีสีเหลืองอ่อน รสหวานเค็ม เหมาะที่จะทำอาหารประเภทเดียวกับน้ำตาลปีก และ การฉาบกล้วย เผือก ฯลฯ

3. น้ำตาลอ้อย ทำจากต้นอ้อย ทำเป็นเมล็ดและผงสีน้ำตาลเข้ม ใช้ทำกับข้าวบางชนิดที่ต้องการให้หอมน้ำอ้อย เช่นปลาต้มหวาน หมูชะมวง หน่อไม้เส้นต้มหมู หรืออาหารประเภทเชื่อม เช่นกล้วยเชื่อม จะทำให้สีแดงเข้มสวยและหอม

4. น้ำตาลทรายชนิดหยาบ มีทั้งที่ฟอกขาวและไม่ฟอกขาว ใช้ทำขนมประเภทน้ำเชื่อม เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง น้ำเชื่อมใส่น้ำผลไม้ต่างๆ หรือใส่เพิ่มรสในกับข้าวเล็กน้อย ใส่ชา กาแฟ

5. น้ำตาลทรายละเอียด จะละเอียดและขาวมาก ใช้ทำขนมอบต่าง เช่น เค้ก คุ้กกี้ ขนมปัง

6. น้ำตาลทรายแดง ทำมาจากน้ำตาลอ้อย ใช้ใส่ในเต้าฮวย น้ำขิง

7. น้ำตาลก้อน คือน้ำตาลทรายละเอียดที่อัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมเล็กๆ เรียก น้ำตาลปอนด์ ใช้ใส่ ชา กาแฟ เพราะไม่มีผลทำให้รสชาติชากาแฟเปลี่ยนแปลง

8. น้ำตาลเทียม เกิดจากสารประกอบที่ให้ความหวานต่างๆ ให้ความหวาน แต่ไม่ให้พลังงาน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก น้ำตาลชนิดนี้จะเป็นผลิตภัณฑ์อาหารควบคุมจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

3. โทษของนํ้าตาล

น้ำตาลเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง รวมไปถึงโรคเบาหวานด้วย มีรายงานวิจัยระบุว่า คนที่บริโภคน้ำตาลมากเกินไปในช่วง 40 ปีแรกของชีวิต มีโอกาสเป็นโรคเบาหวาน มากกว่าคนอื่น ๆ เพราะน้ำตาลไปทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินเสื่อสมรรถภาพ เมื่อกินน้ำตาลเข้าไปมากๆ จะทำให้มีน้ำตาลในกระแสเลือดสูง

อินซูลินเป็นสารที่ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อทำหน้าลดปริมาณน้ำตาลในเลือดโดยจะลำเลียงน้ำตาลไปยังเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย เพื่อเผาผลาญให้เป็นพลังงานหรือไปเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน หากตับอ่อนผลิตอินซูลินได้น้อย ปริมาณน้ำตาลในเลือดก็จะมีสูงจนเกินกว่าที่ไต ซึ่งทำหน้าที่กรองน้ำตาลเก็บไว้ใช้ จะสามารถกรองได้ต้องปล่อยออกมากับปัสสาวะภาวะนี้คืออาการของโรคเบาหวาน

เมื่อร่างกายผลิตอินซูลินออกมามากๆ อินซูลินก็จะทำหน้าที่ของมันอย่างรวดเร็ว เพื่อขจัดน้ำตาลในกระแสเลือดทำให้น้ำตาลในกระแสเลืดจะลดต่ำลงอย่างรวดเร็วร่างกายจะเกิดอาการอ่อนเพลียปวดหัว ปวดเข่า ปวดข้อ เป็นลมสิ้นสติ จนถึงมีอาการสั่นกระตุกทั้งตัว ภาวะอารมณ์ของคนที่มีน้ำตาลในกระแสเลือดต่ำก็จะเกิดอาการอารมณืแปรปรวน ขี้ลืม นอนไม่หลับ ฝันร้าย ตื่นตกใจง่าย โรคอ้วนกับความแปรปรวนของอินซูลินเกี่ยวพันกันจนแทบจะแยกไม่ออก เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาไขมันสูงในเลือดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคเก๊าต์ โรคหัวใจและมะเร็ง


 
Process คืออะไร

1. กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายดิบ
กระบวน การในการผลิตน้ำตาลทรายดิบ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้

1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction) : ทำการสกัดน้ำอ้อยโดยผ่นอ้อยเข้าไปในชุดลูกหีบ (4-5 ชุด) และกากอ้อยที่ผ่นการสกัดน้ำอ้อยจากลูกหีบชุดสุดท้าย จะถูกนำไปเป็นเชื้อเพลิงเผาไหม้ภายในเตาหม้อไอน้ำ เพื่อผลิตไอน้ำมาใช้ในกระบวนการผลิต และน้ำตาลทราย
2. การทำความสะอาด หรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification) : น้ำอ้อยที่สกัดได้ทั้งหมดจะเข้าสู่กระบวนการทำใส เนื่องจากน้ำอ้อยมีสิ่งสกปรกต่าง ๆ จึงต้องแยกเอาส่วนเหล่านี้ออกโดยผ่านวิธีทางกล เช่น ผ่านเครื่องกรองต่าง ๆ และวิธีทางเคมี เช่น โดยให้ความร้อน และผสมปูนขาว
3. การต้ม (Evaporation) : น้ำอ้อยที่ผ่านการทำใสแล้วจะถูกนำเข้าสู่ชุดหม้อต้ม (Multiple Evaporator) เพื่อระเหยเอาน้ำออก(ประมาณ 70 %) โดยน้ำอ้อยข้นที่ออกมาจากหม้อต้มลูกสุดท้าย เรียกว่า น้ำเชื่อม (Syrup)
4. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมที่ได้จากการต้มจะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว ที่จุดนี้ผลึกน้ำตาลจะเกิดขึ้นมา โดยที่ผลึกน้ำตาล และกากน้ำตาลที่ได้จากการเคี่ยวนี้รวมเรียกว่า แมสิควิท (Messecuite)
5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็นน้ำตาลดิบ

2. กระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลรีไฟน์
 น้ำตาล ทรายดิบถูกนำไปละลายน้ำ แล้วถูกผ่านเข้า 5 ขั้นตอนการผลิต ดังนี้

1. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling) : นำน้ำตาลดิบมาผสมกับน้ำร้อน หรือน้ำเหลืองจากการปั่นละลาย (Green Molasses) น้ำตาลดิบที่ผสมนี้เรียกว่า แมกม่า (Magma) และแมกม่านี้จะถูกนำไปปั่นละลายเพื่อล้งคราบน้ำเหลือง หรือกากน้ำตาลออก
2. การทำความสะอาด และฟอกสี (Clarification) : น้ำเชื่อมที่ได้จากหม้อปั่นละลาย (Affinated Syrup) จะถูกนำไปละลายอีกครั้งเพื่อละลายผลึกน้ำตาลบางส่วนที่ยังละลายไม่หมดจากการ ปั่น และผ่านตะแกรงกรองเข้าผสมกับปูนขาว เข้าฟอกสีโดยผ่านเข้าไปในหม้อฟอก (ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวฟอก) จากนั้นจะผ่านเข้าสู่การกรองโดยหม้อกรองแบบใช้แรงดัน (Pressure Filter) เพื่อแยกตะกอนออก และน้ำเชื่อมที่ได้จะผ่านไปฟอกเป็นครั้งสุดท้ายโดยกระบวนการแลกเปลี่ยนประจุ (Ion Exchange Resin) จะได้นำเชื่อมรีไฟน์ (Fine Liquor)
3. การเคี่ยว (Crystallization) : น้ำเชื่อมรีไฟน์ที่ได้จะถูกนำเข้าหม้อเคี่ยวระบบสูญญากาศ (Vacuum Pan) เพื่อระเหยน้ำออกจนน้ำเชื่อมถึงจุดอิ่มตัว
4. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling) : แมสิควิทที่ได้จากการเคี่ยวจะถูกนำไปปั่นแยกผลึกน้ำตาลออกจากกากน้ำตาล โดยใช้เครื่องปั่น (Centrifugals) ผลึกน้ำตาลที่ได้นี้จะเป็น น้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาว
5. การอบ (Drying) : ผลึกน้ำตาลรีไฟน์ และน้ำตาลทรายขาวที่ได้จากการปั่นก็จะเข้าหม้ออบ (Dryer) เพื่อไล่ความชื้นออก แล้วบรรจุกระสอบเพื่อจำหน่าย

 output คืออะไร

1. นํ้าตาลทรายที่ถูกสุขลักษณะ

เฉลยการบ้านครั้งที่ 2

input

1. โรงงานนํ้าตาล                        4. แรงงาน
2.เครื่องจักร                                5. เงินทุน
3. วัตถุดิบ

process

1. การสกัดนํ้าอ้อย
2.การทำความสะอาด
3.การต้มให้ได้นํ้าเชื่อม
4.การเคี่ยวให้เป็นผนึกเเละกาก
5.การปั่นเเยกผนึกนํ้าตาล
6.การอบ
7.การจุถุง

output

1.นํ้าตาลทราย
2.กากนํ้าตาล
3.ชานอ้อย



http://www.kanzuksa.com/Radio.asp?data=252
http://www.wangkanai.co.th/cane4.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น